สารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137
หลังจากที่ได้มีข่าว ซีเซียม 137 (Cs-137) ได้สูญหายไปจากโรงงานผลิตไฟฟ้าและพลังงานถ่านหิน ที่จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2566 ต่อมาวันที่ 19 มี.ค. 2566 พบว่า ซีเซียม 137 ได้ถูกหลอมละลายไปกับโลหะอื่น ๆ ในโรงงานหลอมเหล็ก ซึ่งทำให้ประชาชนส่วนใหญ่กังวล กลัวว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิต และระบบทางเดินหายใจ เพราะเชื่อว่า ซีเซียมเมื่อถูกหลอมละลายแล้ว จะกลายเป็นฝุ่นละออง ลอยอยู่ในอากาศ ถึง 1,000 กิโลเมตร และอยู่นานถึง 30 ปี เหมือนกับเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด เมื่อ 37 ปีก่อน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้ผู้คนเสียชีวิตจำนวนมาก และส่งผลกระทบต่อผู้คนนับหมื่นที่ได้รับรังสี และสารดังกล่าวยังคงตกค้างมาสู่คนรุ่นหลังอีกด้วย
ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนี้ ซีเซียม 137 ก็ได้ถูกหลอมละลายไปแล้ว หลายคนเชื่อว่าเป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญคนบอกว่า ไม่เป็นอันตราย ซึ่งซีเซียม 137 ที่ถูกหลอมละลายในครั้งนี้อันตรายมากแค่ไหน และซีเซียม 137 คืออะไร มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง เราจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ
ซีเซียม 137 คืออะไร อันตรายหรือไม่?
ข้อมูลอ้างอิงจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข ได้กล่าวว่า ซีเซียม 137 คือไอโซโทปกัมมันตรังสี ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear fission product) มีลักษณะเป็นโลหะอ่อน สีทองเงิน เป็นของเหลวที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยพลังงานความร้อน และแกมม่าออกมา นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งอีกด้วย ซีเซียม 137 เป็นสารกัมมันตรังสีที่จัดอยู่ในสารกัมมันตรังสีอันตรายประเภทที่ 3 ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต หากสัมผัสโดยตรง
อาการที่พบหากสัมผัสสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137
อาการที่เห็นได้ชัดเมื่อสัมผัสกับซีเซียม 137 โดยตรง ในระยะแรกจะเกิดผื่นแดงตามผิวหนัง เกิดแผลไหม้พุพอง อ่อนเพลีย ผมร่วง คลื่นไส้อาเจียน และมีไข้ แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณมากและไม่รีบเข้ารับการรักษา อาจจะส่งผลต่อระบบเลือด จนทำให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ต้อกระจกขึ้นนัยน์ตา ระบบประสาท อาการชักเกร็ง จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาในการสัมผัส แต่ในกรณีที่เป็นข่าวในขณะนี้ อาจจะไม่ไม่ได้ส่งผลกระทบรุนแรง เนื่องจาก ซีเซียม 137 ที่ถูกหลอมละลายไปนั้น มีระดับรังสีในปริมาณน้อย หากเทียบกับเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเครียร์เชอร์โนบิล มีรังสีในปริมาณที่น้อยกว่าถึง 50 ล้านเท่า และจะถูกเจือจางในอากาศจางหายไปตามธรรมชาติ (ผศ.ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ กล่าวในรายการโหนกระแส)
วิธีป้องกันสารกัมมันตรังสี ซีเซียม 137
1.หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บริเวณที่มีรังสีรั่วไหล
2.หากอยู่ใกล้พื้นที่ที่เกิดสารกัมมันตรังสีรั่วไหล ให้รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสี
3.หากพบว่ามีอาการดังกล่าวให้รับไปพบแพทย์ทันที
4.ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหารและเครื่องดื่ม
5.คอยติดตามข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับสถานการ หรือการประกาศของหน่วยงานต่าง ๆ